ผีเสื้อบินจ้า!!!!
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 10
ประวัติส่วนตัวของฉัน
สถานที่เกิด บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 9 ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80120
การศึกษา อนุบาล โรงเรียนวัดสุธรรมาราม
ประถม โรงเรียนวัดสุธรรมาราม
มัธยมศึกษา โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง บ.ธบ. บริหารการศึกษา สาขาการบัญชี
การทำงาน ผู้ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัท สำนักงาน พงศ์ธร คมกริช จำกัด
เจ้าหน้าที่บัญชี บริษัท ที.ไอ.พัฒนา จำกัด ในเครือบริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด
ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมีสิทธิ์ศึกษา เป็นโรงเรียนระดับอนุบาล 1- อนุบาล 3
ใบงานชิ้นที่ 9
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]
คุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบัน ควรมีลักษณะภาวะผู้นำในด้านต่างๆดังนี้
- ภาวะผู้นำทางด้านวิชาการ
มีความรอบรู้และสามารถบูรณาการความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ มีประสบการณ์ทางวิชาการ การสอน
การวิจัย มีทักษะในการพัฒนาหลักสูตรและบริหารหลักสูตร
- ภาวะผู้นำทางด้านบุคลิกภาพ
ต้องเชื่อมั่นในตนเอง เป็นคนมีบุคลิกภาพที่ดี มีความอดทนทางปัญญาและอารมณ์ มองโลกในแง่ดี
ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่างๆ
- ภาวะผู้นำด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ต้องมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อเพื่อนร่วมงาน และสังคม
- ภาวะผู้นำด้านการบริหาร
ต้องมีความสามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร มีทักษะในการประสานสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ อารมณ์ดี เชื่อมั่นและเป็นที่พึ่งของผู้ใต้บังคับบัญชา มีทักษะความคิดเชิงกลยุทธในการบริหารงาน ตลอดจนเข้าใจในศาสตร์เกี่ยวกับ การบริหารการศึกษา
ใบงานชิ้นที่ 8
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้สรุปหัวข้อประเด็นดังนี้
1.ความหมายของสถิติ
สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ
1 หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งแรื่องใด เช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
2 หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป ว่าด้วยการศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date) การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)
การวิเคราะข้อมูล (analysis of date) ความหมายข้อมูล (interpretation of data )
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
-ข้อมูลระดับ อันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะ ห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ
-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
6. สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริง เสมอไป
ประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความ สัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่ม ประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
ใบงานชิ้นที่ 3
เนื่องจากเป็นงานกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและสารสนเทศในโรงเรียน
ได้ส่งเป็นรายงานให้อาจารย์แล้ว
สมาชิกในกลุ่ม คือ
1. นางสาววิมล นาวารัตน์
2. นางสาวนัตตาภรณ์ โชติรุ่งโรจน์
3. นางสาวอัจฉรี มีสิทธิ์
4. นายสำราญ วังบุญคง
5. นายศิริวัฒน์ พุดทอง
ุ
ได้ส่งเป็นรายงานให้อาจารย์แล้ว
สมาชิกในกลุ่ม คือ
1. นางสาววิมล นาวารัตน์
2. นางสาวนัตตาภรณ์ โชติรุ่งโรจน์
3. นางสาวอัจฉรี มีสิทธิ์
4. นายสำราญ วังบุญคง
5. นายศิริวัฒน์ พุดทอง
ุ
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 11
แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับวิชาที่เรียน
เป็นวิชาที่ดีมากวิชาหนึ่งและสำหรับการสอนของอาจารย์ถือว่าอาจารย์สอนเร็วมากบางครั้งก็ตามการเรียนไม่ทัน
และคิดว่าอาจจะเป็นเพราะ นักศึกษาเป็นบุคคลที่มีอายุมากแล้วเลยทำให้เรียนช้ากว่าเด็ก และอีกประการหนึ่งเกิดจากนักศึกษา
บางคนไม่มีคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คใช้ทำให้ส่งงานอาจารย์ช้าเพราะการทำบล็อคต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เยอะมาก ต้องใช้เวลา
ประมาณ 8 ชั่วโมงถึงจะเรียนรู้ได้ แต่ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากที่ทำให้ได้เรียนรู้การสร้างบล็อคจนสำเร็จได้ ขอขอบพระคุณค่ะ
เป็นวิชาที่ดีมากวิชาหนึ่งและสำหรับการสอนของอาจารย์ถือว่าอาจารย์สอนเร็วมากบางครั้งก็ตามการเรียนไม่ทัน
และคิดว่าอาจจะเป็นเพราะ นักศึกษาเป็นบุคคลที่มีอายุมากแล้วเลยทำให้เรียนช้ากว่าเด็ก และอีกประการหนึ่งเกิดจากนักศึกษา
บางคนไม่มีคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คใช้ทำให้ส่งงานอาจารย์ช้าเพราะการทำบล็อคต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เยอะมาก ต้องใช้เวลา
ประมาณ 8 ชั่วโมงถึงจะเรียนรู้ได้ แต่ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากที่ทำให้ได้เรียนรู้การสร้างบล็อคจนสำเร็จได้ ขอขอบพระคุณค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)